วันเสาร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558

IP SLA

     สวัสดีครับวันนี้ผมเปิดไปหาความรู้ดีๆ จาก likecisco ของพี่โก้-ชัยวัฒน์ พี่เขาอธิบายได้เข้าใจดีมากและเห็นภาพด้วย ผมเลย Copy มาให้อ่านกันครับ ผมอาจจะตัดออกบ้างนะ ^_^

*********************************************************************************

IP SLA คืออะไร มีไว้ใช้ทำอะไร

     IPSLA จะเป็น tool ในการตรวจจับอุปกรณ์ปลายทางว่ายังอยู่ดีมีสุขหรือไม่ เช่น ใช้ ICMP echo ping request และเมื่อพบว่าอุปกรณ์ปลายทางได้หายไปแล้ว เราก็จะเอามันไปใช้ประโยชน์ เช่น เอาไปผูกกับ static route หรือผูกกับ HSRP tracking object เป็นต้น
     ยกตัวอย่าง ปัจจุบัน WAN link ที่เป็น MPLS นั้น Service Provider จะลาก dark fiber มาถึง site ของลูกค้า แล้วเอา switch มาวางขั้นเพื่อรับ dark fiber จากนั้นก็เอา port ที่เป็น RJ-45 ของ Switch มาต่อกับ Router ของลูกค้า ด้วยสาย LAN ปกติทั่วๆ ไป
     ถ้าลูกค้าใช้ static route แล้วจะมีปัญหาคือ static route จะถูก clear หรือลบออกจาก routing table ก็ต่อเมื่อ Physical interface ที่ static route นั้นกำลังอ้างถึงอยู่ได้ down ลงไป แต่ปัญหาคือ ถ้า fiber ระหว่าง Switch ที่อยู่ที่ site ของลูกค้า กับ site ของ Service Provider down ลงไปแล้ว มันจะไม่ได้ทำให้ port RJ-45 ของ Switch ที่ต่อกับ Router ของลูกค้า down ไปด้วยนี่สิ ส่งผลให้ static route ใน routing table ไม่ได้ถูก clear ไปด้วย ดังนั้น Router ก็จะยังคงประกาศ static route นี้ให้กับ network ภายในทราบเหมือนเป็นปกติว่า "ชั้นยังไป Service Provider ได้อยู่นะจ๊ะ" เมื่อ packet ถูกส่งมาถึงมัน มันก็พยายามส่งไป แต่ก็ไปไม่ถึง เพราะ fiber มัน down อยู่ (แต่ link ระหว่าง Router กับ Switch ไม่ได้ down) ส่งผลให้เกิดสภาวะ Black Hole

ดังนั้นปัญหานี้ ถามว่า static route จะรู้ได้ยังล่ะ?

     คำตอบคือ เอา IPSLA มาช่วยไงครับ โดยเอา IP SLA มาผูกับ Static route  ซึ่งหาก IP SLA ping ไปยัง IP ปลายทางที่อยู่ฝั่ง Service Provider ไม่เจอแล้ว ให้แจ้งไปยัง Static route นั้นว่าปลายทางตายแล้ว และให้ลบ route นั้นๆ ออกจาก routing table แทนที่จะให้ static route มาคอยตัวจับที่ Physical Interface นอกจากนั้นแล้ว IP SLA ยังเอามาใช้ในการตรวจจับพวก Jitter และ Latecy เพื่อดู performance ของ network ว่าเหมาะสม และพร้อมใช้สำหรับ VoIP หรือไม่

          ตัวอย่าง command IP SLA พร้อมคำอธิบาย

     - สร้าง IP SLA entry ที่ 1

          R1(config)# ip sla 1

     - กำหนด IP SLA ให้ใช้การตรวจสอบสถานะของปลายทาง ด้วย IP ICMP Echo (Ping) ไปยัง IP address ปลายทาง 200.1.1.1 โดยให้ใช้ source IP address เป็น 200.1.1.2

          R1(config-ip-sla)# icmp-echo 200.1.1.1 source-ip 200.1.1.2
          R1(config-ip-sla-echo)# exit

     - กำหนด schedule ว่าจะให้ IP SLA เริ่มต้นทำงานเมื่อไหร่ และสิ้นสุดการทำงานเมื่อไหร่ โดยไปผูกกับ IP SLA entry ที่ 1 ซึ่งให้ทำงานแบบตลอดไป และให้เริ่มต้นทำงาน ณ บัด now

          R1(config)# ip sla schedule 1 life forever start-time now

     - สร้าง Object tracking หรือ การติดตาม object โดยให้ติดตาม object ที่เป็น IP SLA entry ที่ 1 แบบตรวจสอบว่า ยังสามารถไปถึงปลายทางได้หรือไม่ (reachability)

          R1(config)# track 5 rtr 1 reachability

     - สั่งให้ static default route คอยทำการตรวจสอบสถานะของ tracking object ที่ 5 ว่ามีสถานะปกติดีอยู่หรือไม่

          R1(config-track)# ip route 0.0.0.0 0.0.0.0 200.1.1.1 track 5

          เป็นอันพร้อมใช้งาน นั่นคือ ถ้า IP SLA ping ไปยัง 1.1.1.1 ไม่เจอแล้ว ให้แจ้ง tracking object 5 ให้ทราบ และจากนั้น tracking object 5 ก็จะไปแจ้ง static default route ให้ทำการลบ route ออกจาก routing table

     - Command IP SLA จะมีหลาย generation (หลายรูปแบบ)  นะครับ โดยขึ้นอยู่กับ version ของ IOS ที่ใช้อยู่ ซึ่งที่แสดงอยู่นี้ถือว่าเป็นแค่รูปแบบหนึ่งเท่านั้น
     - Command IP SLA จะมีสอนหนักๆ บน CCNP นะครับ

     - รูปแบบที่ 1 (หนึ่งในหลาย generation) สำหรับ IP SLA

          !
          ip sla 1
          icmp-echo 200.1.1.1 source-ip 200.1.1.2
          ip sla schedule 1 life forever start-time now
          !
          track 5 rtr 1 reachability
          !
          ip route 0.0.0.0 0.0.0.0 200.1.1.1 track 5
          !

     - รูปแบบที่ 2 (หนึ่งในหลาย generation) สำหรับ IP SLA

          !
          ip sla 1
          icmp-echo 200.1.1.1 source-ip 200.1.1.2
          ip sla schedule 1 life forever start-time now
          !
          track 5 ip sla 1 reachability
          ! 
          ip route 0.0.0.0 0.0.0.0 200.1.1.1 track 5
          !

*********************************************************************************

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=likecisco โดย : พี่โก้-ชัยวัฒน์ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น