วันพุธที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2558

IP Address ( 2 ) : IPv4

IP Address ( 1 ) : Introduce

     สวัสดีครับ ผมศึกษาและทบทวนเกี่ยวกับ IP Address อยู่หลายวัน ได้เวลาเขียนลง Blog ซักที ซึ่งในบทความนี้ผู้อ่านจะได้รู้กันว่า  IP Address คืออะไร ใช้ทำอะไร ซึ่งในปัจจุบันที่ใช้กัน จะมีอยู่ 2 Version คือ IP version 4 กับ IP version 6 ซึ่งที่ใช้กันมากในตอนนี้ก็จะเป็น Version 4 ซึ่งในบทความ IP Address ใน Part ต่อไปจะอธิบายเกี่ยวกับ IPv4 อย่างละเอียด ส่วนบทความนี้ผมขอพูดเกี่ยวกับ IP Address แบบคร่าวๆ ก่อนครับ แล้วบทความต่อๆไปค่อยเป็น Version 6 นะ แต่ผมต้องอ่านก่อนนะ เพราะค่อนข้างงงอยู่เหมือนกัน มันไม่ค่อยคุ้น ^_^ เริ่มกันเลยดีกว่าครับ

*********************************************************************************

     IP Address เป็น address ที่ใช้ในการระบุที่อยู่ของอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่ภายในเครือข่ายทั้ง WAN และ LAN เพื่อไว้ใช้อ้างอิงในการรับส่งข้อมูล

     รูปแบบ IP Address 1 เบอร์ จะมีลักษณะดังนี้ คือจะมีตัวเลขทั้งหมด 4 ชุด โดยแต่ละชุดจะถูกขั้นไว้ด้วยจุด ( . )  ดังตัวอย่างด้านล่างครับ

          - 10.1.1.1                 ถือว่าเป็น IP Address 1 เบอร์
          - 172.17.30.1           ถือว่าเป็น IP Address 1 เบอร์
          - 192.168.101.1       ถือว่าเป็น IP Address 1 เบอร์

โดยตัวเลขแต่ละชุดจะมีค่าได้ตั้งแต่ 0 - 255 ดังนั้น IP Address จะมีค่าที่เป็นไปได้ คือ ตั้งแต่ 0.0.0.0 ถึง 255.255.255.255

     อย่างที่บอกครับว่าหน้าที่ของ IP Address มีไว้เพื่อใช้อ้างอิงในการรับส่งข้อมูล ซึ่งสิ่งที่สำคัญในการรับส่งข้อมูล คือ

          - Source Address : ที่อยู่ต้นทาง คือ ระบุว่าส่งมาจากใคร เพราะเมื่อมีการส่งข้อมูลกลับจะได้ส่งถูกคน
          - Destination Address : ที่อยู่ปลายทาง คือ ระบุว่าจะส่งไปที่ไหน

     ซึ่งจะมีกระบวนการในการระบุ Source และ Destination Address หรือ วิธิรับ-ส่งข้อมูล สามารถไปศึกษาได้ในบทความ OSI 7 Layer หรือ TCP/IP Model ซึ่งผมยังไม่ได้เขียนเลย ^_^ แต่มีอยู่เยอะครับ ใน Internet แต่ว่างๆ ผมจะมาเขียนไว้แน่นอน ก็จบแล้วนะครับ สำหรับ Introduce เดี๋ยว Part ต่อไปมาจัดเต็มกันเลยกับเรื่องของ IPv4

*********************************************************************************

วันจันทร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2558

แนะนำ Web ในการหาข้อมูล Network

     สวัสดีครับ บทความนี้จะแนะนำเว็บดีๆ ที่เพื่อนๆสามารถไปหาข้อมูลกันเองได้ครับ เพราะผมอาจจะนำข้อมูลมาแชร์ได้ช้า ช่วงนี้งานหนัก ^_^ ยังไงก็ลองเข้าไปดูกันนะครับ

*********************************************************************************



*********************************************************************************

.!  Likecisco  !.


*********************************************************************************

สาย LAN /สายตรง / สายครอส

     สวัสดีคร้าบบ บทความที่ 2 ในวันนี้แล้ว อันที่จริงไม่รู้เรียกบทความได้หรือป่าว เพราะผมเองก็ก็อปของเขามาอีกที ^_^ แต่เห็นว่ามันเป็นประโยชน์กับเด็กจบใหม่ที่อยากทำงานด้าน Network เพราะผมคิดว่าทุกคนที่จะทำงานด้านนี้ ก็ควรมีความรู้พื้นฐานแบบนี้ทุกคน อย่างน้อยก็น่าจะใช้ในการสัมภาษณ์งานได้ครับ ขอให้ตั้งใจอ่านกันนะ และเหมือนเคยสามารถไปคิดตามอ่านต้นฉบับ ได้ที่ -- Likecisco -- ครับ

*********************************************************************************

     การเชื่อมต่ออุปกรณ์ Computer และอุปกรณ์เครือข่าย ( Hub , Switch และ Router ) ด้วยสาย LAN นั้น เราจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าเราควรจะใช้สายตรงหรือสายครอสในการเชื่อมต่ออุปกรณ์อะไรกับอุปกรณ์อะไร ( มีในข้อสอบ CCNA ครับ ) ซึ่งมีวิธีจำแบบง่ายๆ ที่หลายๆ คนใช้อยู่ (แต่มีจุดที่ต้องระวัง) คือ
          - อุปกรณ์เหมือนกัน ต่อกันใช้สาย LAN แบบครอส (Crossover Cable)
          - อุปกรณ์ต่างกัน ต่อกันใช้สาย LAN แบบตรง (Straight-Through Cable)
หมายเหตุ : แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์รุ่นใหม่ๆ ของ Cisco สามารถใช้สาย LAN แบบตรง ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่เหมือนกันได้แล้วหรือก็คืออุปกรณ์เหล่านั้นรองรับการทำ Auto Cross
     ซึ่งเป็นวิธีจำที่ใช้ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งหลายคนจะเหมารวมว่า "งั้นแสดงว่า Computer ต่อ Router ก็ต้องเป็นสายตรงซิเพราะเป็นอุปกรณ์คนละชนิดกัน" แต่คำตอบที่ถูกต้องคือ Computer ต่อ Router ต้องเป็นสายครอสครับ ซึ่งจากรูปข้างล่าง เป็นรูปที่แสดงถึงการใช้สายครอสกับสายตรง เพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์เครือข่ายอย่างถูกต้องครับ (ใช้อ้างอิงในการสอบ CCNA ได้นะครับ)


     แล้วอะไรเป็นตัวที่บอกว่า Router และ Computer เป็นอุปกรณ์ชนิดเดียวกันล่ะ ดังนั้นเรามารู้จัก MDI และ MDI-X กันดีกว่าครับ
          - MDI หรือ Medium Dependent Interface : เป็นชนิดของ Ethernet Port ซึ่งจะถูกใช้อยู่บน Network Interface Card (NIC) หรือที่เราเรียกว่า Card LAN นั่นเอง ซึ่ง Card LAN นี้ก็ถูกเสียบอยู่ Computer อีกทีนั่นแหละ นอกจากนี้แล้ว Ethernet port บน Router เองก็เป็นชนิด MDI ด้วยเช่นกัน
          - MDIX หรือ MDI-X หรือ Medium Dependent Interface Crossover : เป็นชนิดของ Ethernet Port ที่อยู่บน Hub และ Switch นั่งเอง  ( อักษร X จะเป็นตัวแทนของคำว่า "Crossover" นั่นเอง )
ดังนั้นคำว่า
          - อุปกรณ์เหมือนกัน ต่อกันใช้สาย LAN แบบครอส (Crossover Cable)
          - อุปกรณ์ต่างกัน ต่อกันใช้สาย LAN แบบตรง (Straight-Through Cable)
จึงควรจะถูกใช้ในลักษณะนี้ครับ
          - MDI ต่อกับ MDI เป็นชนิดเดียวกันใช้สายครอส (Crossover cable)
          - MDI-X ต่อกับ MDI-X เป็นชนิดเดียวกันใช้สายครอส (Crossover cable)
          - MDI ต่อกับ MDI-X เป็นคนละชนิดกันใช้สายตรง (Straight-Through Cable)
โดย
          - Port แบบ MDI ประกอบด้วยอุปกรณ์คือ Router และ Computer
          - Port แบบ MDI-X ประกอบด้วยอุปกรณ์คือ Hub กับ Switch
     ดังนั้นเมื่อสรุปการเชื่อมต่ออุปกรณ์แล้วจะได้ผลตรงกับรูปข้างบนครับ ซึ่งเป็นรูปในเอกสารการเรียนการสอนของ CCNA ครับ   

     สาย LAN ที่คนส่วนใหญ่รู้จักและใช้งานอยู่นั้นมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สาย UTP หรือสาย CAT5 นั่นเอง ซึ่งผมขออธิบายคำว่า UTP และ STP เชิงเปรียบเทียบก่อนดังนี้ครับ

          - สาย UTP (Unshielded Twisted Pair Cable) เป็นสายแบบตีเกลียวเป็นคู่ๆ ทั้งหมดสี่คู่โดยไม่มีเกราะป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก  (Foil Shield) โดยดูได้ตามรูปข้างล่างครับ


          - สาย STP (Shielded Twisted Pair Cable) เป็นสายแบบตีเกลียวเป็นคู่ๆ ทั้งหมดสี่คู่ ซึ่งมีเกราะป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก  (Foil Shield)  โดยดูได้ตามรูปข้างล่างครับ

     
     การที่สาย LAN ต้องมีการตีเกลียวเพื่อที่จะป้องกันสัญญาณรบกวนกันเองภายในสาย LAN โดยการตีเกลียวจะเป็นการทำให้คลื่นแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสสัญญาณในสายทองแดงแต่ละเส้นหักล้างกันเอง และแน่นอนว่าสายแบบ STP ซึ่งมีเกราะป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอก ย่อมดีกว่าสายแบบ UTP แต่ทว่าราคาของสายแบบ STP ก็แพงกว่าแบบ UTP ด้วยเช่นกันครับ แล้วคำว่า CAT5 คืออะไรล่ะ? คำว่า CAT5 จริงๆ แล้วมาจากคำเต็มๆ ว่า Category 5 หรือสายประเภทที่ 5 ครับ (ผมขอข้ามสาย CAT1 ถึง CAT4 ไปนะครับ) โดยจะขออธิบายสาย CAT5, CAT5e และ CAT6 พร้อมรูปตัวอย่างดังนี้ครับ

          - สาย CAT5 (Category 5 cable) เป็นสายที่ถูกผลิดขึ้นมาตามมาตรฐานของ Fast Ethernet (100 Mbit/sec) โดยเฉพาะ เหมาะที่จะใช้งานกับ Ethernet Network ที่มี speed 100 Mbit/sec (Interface แบบ Fast Ethernet) เป็นหลักครับ แต่หากจะนำมาใช้กับ Ethernet Network ที่มี speed 1,000 Mbit/sec หรือ 1 Gbit/sec (Interface แบบ Gigabit Ethernet) นั้นก็พอใช้ได้ครับ แต่ประสิทธิภาพอาจจะไม่ดีเท่าไหร่ครับ (ซึ่งสายแบบ CAT5 ก็คือสายแบบ UTP นั่นเองครับ) โดยมีรูปดังข้างล่างครับ

   
          - สาย CAT5e (Category 5 enhanced cable) เป็นสายที่มีการพัฒนาขึ้นมา (enhance) จากสาย CAT5 เดิมครับ ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่า (เพื่อให้สามารถรองรับ Ethernet Network แบบ Gigabit Ethernet ได้) ซึ่งใช้งานได้ดีกับ Ethernet Network ทั้งแบบ 100 Mbit/sec (Fast Ethernet) และแบบ 1,000 Mbit/sec (Gigabit Ethernet) ซึ่งแน่นอนว่าสายแบบ CAT5e ย่อมจะแพงกว่า CAT5 โดยมีรูปดังข้างล่างครับ

       
          - สาย CAT6 (Category 6 cable) เป็นสายที่ถูกผลิตขึ้นมาตามมาตรฐานของ Gigabit Ethernet โดยเฉพาะครับ ซึ่งแน่นอนครับ เหมาะกับ Ethernet Network แบบ Gigabit Ethernet แต่อย่างไรก็ตามสาย CAT6 นี้ก็ยังสามารถนำไปใช้งานกับ Ethernet Network แบบ 100 Mbit/sec ได้ครับ โดยมีรูปดังข้างล่างครับ

   
     รูปของสาย CAT5, CAT5e และ CAT6 ที่แสดงนี้เป็นภาพตัวอย่างเท่านั้น ดังนั้นเวลาไปซื้อสาย สามารถสังเกตที่ข้างๆ สายได้ครับ โดยจะมีเขียนเอาไว้ว่าเป็นสาย Category อะไรครับ

     ทีนี้มาถึงการเข้าหัว LAN กันครับ โดยขั้นแรกเราต้องรู้วิธีการนับขา (pin) ของหัว LAN กันก่อนนะครับ ดังรูปข้างล่าง คือหัว LAN มีชื่อที่เป็นมาตรฐานคือ หัว RJ - 45 ครับ


การเข้าหัว LAN มีมาตรฐานการเข้าอยู่สองแบบดังนี้ครับ

          - แบบ TIA/EIA 568A ดังรูปข้างล่าง



          - แบบ TIA/EIA 568B ดังรูปข้างล่าง



การเข้าหัว LAN สำหรับทำสายตรง (Straight-Through Cable) นั้นมีสองแบบดังนี้ครับ

          - แบบที่ 1 การเข้าหัวทั้งสองฝั่งเป็นแบบ TIA/EIA 568A ดังรูปข้างล่าง



          - แบบที่ 2 การเข้าหัวทั้งสองฝั่งเป็นแบบ TIA/EIA 568B ดังรูปข้างล่าง



การเข้าหัว LAN สำหรับการทำสายครอส (Crossover Cable)

     การเข้า LAN สำหรับการทำสายครอสนี้สามารถทำได้ง่ายๆ คือ ฝั่งหนึ่งเข้าหัวตามมาตรฐาน TIA/EIA 568A และอีกฝั่งหนึ่งเข้าหัวตามมาตรฐาน TIA/EIA 568B ดังรูปข้างล่างครับ


หรือเจาะลึกลงไปอีกหน่อยคือ 

          - Pin 1 เข้า Pin 3 ของอีกฝั่ง
          - Pin 2 เข้า Pin 6 ของอีกฝั่ง
          - Pin 3 เข้า Pin 1 ของอีกฝั่ง
          - Pin 6 เข้า Pin 2 ของอีกฝั่ง

ดังรูปข้างล่างครับ


คำถามน่ารู้

- หากไม่เข้าหัว LAN ตามมาตรฐานจะได้ไหม?
     จากประสบการณ์ที่เคยทำงานมาในช่วงแรกๆ ของการเข้าวงการ ผมเคยเข้าหัว LAN แบบตามใจฉัน คือ ถ้าเป็นสายตรง ก็เข้าหัวให้ทั้งสองฝั่งเหมือนๆ กันก็พอ และถ้าเป็นสายครอส ก็เข้าหัวแบบ 1 เข้า 3 และ 2 เข้า 6 อะไรประมาณนี้  ผลคือ ใช้งานได้ครับ แต่หลังจากที่ผมเสียบสาย LAN ดังกล่าวเข้า Interface LAN แบบ 100 M ทั้งสองฝั่ง ผลคือ ผมใช้ได้แค่ 10 M ครับ โดย Card LAN ทำการปรับตัวเองให้กลายเป็น 10 M อย่างอัตโนมัติ (ผลมันแสดงออกบน Windows เลยครับว่าให้ใช้ได้แค่ 10 M)
- ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?
     เราลองมาสังเกตที่สาย LAN กันสักหน่อยครับ จะเห็นได้ว่าสาย LAN จะมีสายทองแดงข้างในทั้งหมด 8 เส้น แบ่งเป็น 4 คู่ โดยแต่ละคู่จะมีการพันกันเป็นเกลียว (มันจึงชื่อว่า Twisted Pair ครับ) และที่สายแต่ละคู่จำเป็นต้องพันกันเป็นเกลียวนั้นก็เพื่อป้องกันไม่ให้สนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสสัญญาณมากวนกันเองครับ (พันกันเป็นเกลี่ยวเพื่อให้สนามแม่เหล็กหักล้างกันเอง ไม่มากวนกันเอง) ดังนั้นหากเราไม่เข้าหัว LAN ตามมาตรฐานแล้ว การหักล้างกันของสนามแม่เหล็กอาจจะไม่สมบูรณ์ กลายเป็นสัญญาณที่มารบกวนกันเอง ทำให้เกิด loss ภายในสาย และท้ายสุด Card LAN จำเป็นต้องปรับ speed ลงจาก 100 M ให้เป็น 10 M อย่างอัตโนมัติ เพื่อให้เรายังคงสมารถใช้งานได้ครับ

*********************************************************************************


ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=likecisco โดย : พี่โก้-ชัยวัฒน์

Loopback Address

     สวัสดีครับทุกคน ผมเคยสงสัยเกี่ยวกับ http://127.0.0.1/ หรือ http://localhost/ ว่ามันคืออะไรตอนที่เปิดเพื่อทดสอบเว็บที่เขียนตอนเรียนมหาลัย เพิ่งเข้าใจเมื่อเจอบทความของพี่โก้ ชัยวัฒน์ นี่แหละ ขอบคุณมากๆครับ ^_^ ใครที่ยังงงหรือยังไม่เข้าใจก็ลองอ่านในบล็อกผมได้ครับ หรือ จะตามไปอ่านที่  -- Likecisco -- ของพี่โก้เขา ก็ตามสบายเลยครับ

*********************************************************************************
      
     สำหรับ IP address ที่ขึ้นต้นด้วย 127 (127.0.0.0 ถึง 127.255.255.255) จะเป็นกลุ่มของ IP address ที่ถูกเรียกว่า loopback address ซึ่งเป็นมาตรฐาน หรือ Standard ที่ถูกกำหนดอยู่ใน RFC 3330 โดย IP address เบอร์ 127.0.0.1 หรือที่เราเรียกว่า "localhost" จะเป็น IP address ที่อยู่บนเครื่อง Computer ทุกเครื่อง ไม่ว่าจะใช้ OS Windows , Linux หรือ UNIX ก็ตาม ซึ่ง "localhost" จะมีความหมายแบบไทยๆ ก็คือ "คอมพิวเตอร์เครื่องนี้แหละ" และ IP address เบอร์นี้จะเป็น IP address ที่มีสถานะ ( Status ) ที่ Active หรือพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา แม้ Computer เครื่องนั้นจะไม่มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายใดๆ
     โดยปกติแล้วหากเครื่องคอมพิวเตอร์ ( Computer ) ของเราไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแล้ว จะทำให้เครื่อง Computer ของเราไม่สามารถติดต่อกับเครื่อง Computer อื่นๆ ในเครือข่ายได้ ตรวจสอบได้โดยเข้าที่ start --> Run.. แล้วพิมพ์ cmd จะเปิด Window หรือหน้าต่าง DOS prompt ขึ้นมา เมื่อพิมพ์คำสั่งบน DOS prompt ว่า ipconfig เพื่อตรวจสอบว่าเครื่อง Computer ของเรากำลังใช้ IP address อะไรอยู่ หากเครื่อง computer ของเราไม่ได้มีการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายแล้ว เราจะไม่พบ IP address ใดๆ หลังการใช้คำสั่งดังกล่าว และเครื่อง computer ของเราก็จะไม่สามารถใช้งาน Internet ได้ จากนั้น เมื่อพิมพ์คำสั่ง ping แล้วตามด้วย IP address ปลายทางเบอร์ใดๆ บน DOS prompt เพื่อติดต่อไปยัง IP address ปลายทางนั้น ก็จะไม่สามารถติดต่อไปได้เช่นกัน ( ping เป็นคำสั่งที่ใช้ในตรวจสอบสถานะการเชื่อมต่อระหว่างเครื่อง Computer ของเรากับเครื่อง Computer เครื่องอื่นๆ ในเครือข่าย IP ) แต่สำหรับ IP address 127.0.0.1 หรือ localhost ซึ่งเป็น IP address ที่มีอยู่บนเครื่อง computer ทุกเครื่อง และพร้อมใช้งานตลอดเวลา ( แม้จะไม่พบ IP เบอร์นี้จากการใช้คำสั่ง ipconfig ก็ตาม ) ดังนั้นเมื่อเราใช้คำสั่ง ping 127.0.0.1 เพื่อติดต่อ IP address เบอร์นี้ซึ่งอยู่บนเครื่องของตัวเองจะพบว่าสามารถติดต่อได้ โดยจะขึ้นผลของการ ping ออกมาดังนี้

          Reply from 127.0.0.1: bytes=32 time<1ms TTL=128

     และด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่พัฒนา Software และ Application ต่างๆ คือ หากในระหว่างที่เขามีการพัฒนา Software หรือ Application ต่างๆ ที่จำเป็นต้องเกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อเครื่อง Computer ที่เขากำลังใช้งานอยู่นั้นเข้ากับเครือข่ายแล้ว เขาจะไม่ต้องมากังวลเรื่องการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอีกต่อไป เนื่องจากเขาสามารถนำ IP address เบอร์ 127.0.0.1 มาใช้ในการทดสอบแทนได้นั่นเอง
   
          ตัวอย่างเช่น ผู้พัฒนา Web Application คนหนึ่ง เขาเพิ่งจะเขียน Web เสร็จบน Computer ของตัวเอง และเขาต้องการทดสอบว่า Web ที่เขาเขียนนั้นสามารถใช้งานได้หรือไม่ และต้องการรู้ว่าเมื่อมีการเข้าใช้งาน Web ที่เขาเขียนแล้ว หน้าตาของ Web จะออกมาเป็นอย่างไร แต่ ณ ขณะนั้น เครื่อง Computer ของเขาไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายใดๆ เลย ดังนั้นเขาจึงเข้าหน้า Web ที่เขาเพิ่งเขียนเสร็จบนเครื่อง Computer ของเขาเอง โดยวิธีการเปิดหน้า Web Brouwser (เช่น Internet Explorer) แล้วตามด้วยการพิมพ์ URL คือ http://127.0.0.1/ หรือพิมพ์ได้อีกแบบหนึ่งคือ http://localhost/ จากนั้นเขาก็จะสามารถเข้าหน้า web ที่เขาเพิ่งเขียนเสร็จบนเครื่องของตัวเองได้ โดยที่เครื่อง computer ของเขาไม่จำเป็นต้องต่อเข้ากับเครือข่ายใดๆ เลย

*********************************************************************************

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=likecisco โดย : พี่โก้-ชัยวัฒน์ 


วันจันทร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ศัพท์น่าจำในบทความ Network

     สวัสดีครับ ในเนื้อหาของบทความนี้จะทำการอัพเดทเรื่อยๆนะ เพราะเป็นคำศัพท์ซึ่งผมเจอในการอ่านแนวข้อสอบ CCNA หรือ บทความต่างๆ ที่ผมหาความรู้ใส่ตัวครับ  เอามาแบ่งๆกัน อันไหนผมแปลผิดช่วยบอกด้วยนะครับ ^_^

*********************************************************************************

อักษร C

     Configuration     แปลว่า     การตั้งค่า

*********************************************************************************

อักษร D

     Dialog     แปลว่า     โต้ตอบ

*********************************************************************************

อักษร I

     Initialize     แปลว่า     เริ่มต้น

*********************************************************************************

อักษร O

     On the other hand     แปลว่า     ในทางกลับกัน

*********************************************************************************

อักษร S

     Solve     แปลว่า     แก้ไข

*********************************************************************************

Mask & Subnet Mask

     สวัสดีครับ สำหรับบทความนี้จะเป็นบทความสั้นๆ จะเขียนถึงตารางระหว่าง Mask กับ Subnet Mask ว่า Mask เท่านี้ จะเท่ากับ Subnet Mask เท่าไหร่ เพื่อให้ง่ายในการเรียนรู้เกี่ยวกับบทความที่เกี่ยวกับ IPv4 ที่ผมกำลังจะเขียนในวันต่อๆไปครับ ท่องจำกันให้ขึ้นใจก็ดีนะ เป็นประโยชน์ในการทำงานและคุยกับพวก Engineer พอสมควรเลยครับ ข้อมูลตามตารางด้านล่างเลยครับ ^_^

*********************************************************************************


Format : Mask 8  = /8
              : Mask 16  = /16
              : Mask 24  = /24   เป็นต้น

*********************************************************************************

### จำกันให้ได้นะคร้าบบบบ ^_^